มหาบัญฑิตใหม่ มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่-นครปฐม
การศึกษาที่สร้างนวัตกรรมชีวิต
การศึกษาที่สร้างนวัตกรรมชีวต
การศึกษาที่สร้างนวัตกรรมชีวิต
การศึกษาที่สร้างนวัตกรรมชีวิต
การศึกษาที่สร้างนวัตกรรมชีวิต
การศึกษาในระบบการศึกษา (Education) ในมาตรา 4 ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 นิยาม ความหมายของการศึกษา มีความหมายว่า “กระบวนการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคมโดยการถ่ายทอดความรู้ การฝึก การอบรม การสืบสานทางวัฒนธรรมการสร้างสรรค์จรรโลงความก้าวหน้าทางวิชาการ การสร้างองค์ความรู้อันเกิดจากการจัดสภาพแวดล้อม สังคมการเรียนรู้ และปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคลเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต” และมาตรา 15 ได้กำหนดระบบการศึกษา ในการจัดการศึกษามีสามรูปแบบ คือ การศึกษาในระบบการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย
ความหมายการศึกษาในระบบ
การศึกษาในระบบ (Formal Education) คือการศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลาของการศึกษาการวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน
วัตถุประสงค์ของการศึกษาในระบบ
1) ถ่ายทอดหรือปลูกฝัง เนื้อหา ความรู้ ความเข้าใจที่เหมาะสมเพื่อให้ผู้ได้รับการศึกษาวางตัวได้เหมาะสมในสังคม และมีความสามารถประกอบอาชีพตามความถนัด ความสนใจ หรือตามโอกาสของแต่ละบุคคล
2) เตรียมเด็กก่อนวัยเรียน ให้มีความพร้อมในการเรียนรู้และจัดให้เด็กในวัยเรียน ได้รับการศึกษาเพื่อเรียนรู้ และพัฒนาตนเองต่อเนื่องเพื่อให้มีพัฒนาการทั้งทางร่างกาย เชาวน์ปัญญา ความสนใจที่เหมาะสมมีความพร้อมในการศึกษาระดับสูงขึ้นไป
3) เพื่อพัฒนาเด็กในวัยเรียนทุกระดับให้ได้รับการศึกษา เพื่อประโยชน์สำหรับการเตรียมตัวระดับพื้นฐาน และเพื่อมีความรู้ ความสามารถในการประกอบอาชีพการงานต่อไป
4) ตอบสนองความต้องการทางการศึกษาระดับสูงในเชิงคุณภาพ มุ่งส่งเสริมให้ประชาชนมีโอกาสได้พัฒนาความรู้ความสามารถเฉพาะด้าน เพื่อประโยชน์ในการประกอบอาชีพ ซึ่งอาจดำเนินการโดยสถาบันอุดมศึกษา ที่เน้นการวิเคราะห์ วิจัยระดับสูง มุ่งคิดค้นเนื้อหาสาระที่แปลกใหม่จากเดิม นอกจากนี้ยังรวมถึงการฝึกอบรมเฉพาะทางเช่น ด้านการเกษตร การอุตสาหกรรม วิทยาศาสตร์สุขภาพ เป็นต้น
5) พัฒนาศักยภาพของบุคคลเต็มความสามารถและตอบสนองวิสัยทัศน์ในการพัฒนาประเทศ เน้นพัฒนากลุ่มเป้าหมายในลักษณะบูรณาการ คือ มีความสมบูรณ์ครบถ้วนทุกด้าน ทั้งทางร่างกาย สติปัญญาคุณธรรม ความคิด ความสำนึก ความรับผิดชอบ ฯลฯ ซึ่งตามปกติเป็นหน้าที่ของสถานศึกษา และอาจจัดเสริมเติมในลักษณะฝึกอบรมเฉพาะหรือแทรกในกิจกรรมการเรียนการสอนปกติ
เป้าหมายของการจัดการศึกษาในระบบ
1) เด็กก่อนวัยเรียน เป็นการจัดกิจกรรมในลักษณะการเตรียมความพร้อมเพื่อส่งเสริมทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา ได้แก่ กิจกรรมการเคลื่อนไหวตามจังหวะ กิจกรรมสร้างสรรค์ กิจกรรมกลางแจ้ง กิจกรรมเสริมประสบการณ์ กิจกรรมเกมการศึกษาเป็นต้น
2) บุคคลในวัยเรียน เป็นการจัดการศึกษาให้กับกลุ่มเป้าหมายดังต่อไปนี้
2.1) การศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งได้แก่ การจัดการศึกษาในระดับประถมศึกษา และระดับมัธยมศึกษา การศึกษาขั้นพื้นฐานนั้น มักใช้เวลาประมาณสิบสองปี เป็นส่วนใหญ่ ในช่วงปลายของการศึกษาเยาวชนที่สนใจสายอาชีพ แทนที่จะศึกษาสายสามัญ ก็อาจเลือกเข้าเรียนในสถานศึกษา สายอาชีพได้ ซึ่งได้แก่ โรงเรียนอาชีวศึกษา ประเภทต่าง ๆ
2.2) การศึกษาระดับอุดมศึกษา เมื่อสำเร็จการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้เรียนที่มุ่งศึกษาต่อก็อาจเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งรวมสถาบันอุดมศึกษาสายอาชีพต่ำกว่าปริญญาด้วย
มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่
การจัดการศึกษา เปิดดำเนินการสอน ใน 3 ระดับการศึกษา ดังนี้
ระดับปริญญาเอก 2 สาขาวิชา คือ
- สาขาวิชาการบริหารการพัฒนา
- สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ
ระดับปริญญาโท สาขาวิชา คือ- สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
- สาขาวิชาการบริหารและประเมินโครงการ
- สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
- สาขาวิชาบริหารธุรกิจ
- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
- สาขาวิชาการท่องเที่ยวและการบิน
ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ- ประกาศนียบัตรวิชาชีพครู
ระดับปริญญาตรีจัดการศึกษาระบบทวิภาค หรือ ปีการศึกษา แบ่งเป็น 2 ภาคเรียน หลักสูตรปริญญาตรี 5 คณะ 18 สาขาวิชา ดังนี้
คณะวิศวกรรมศาสตร์
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.) ดังนี้
- สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
- สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
- สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
- สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล
หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (ทล.บ.)- สาขาวิชาเทคโนโลยีบัณฑิต
- สาขาวิชาเทคโนโลยีก่อสร้าง
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)- สาขาวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์
หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (บธ.บ.)- สาขาวิชาการจัดการการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
- สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
คณะบริหารธุรกิจหลักสูตรบัญชีบัณฑิต (บช.บ.)
- สาขาวิชาบัญชี
หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (บธ.บ.)- สาขาวิชาการจัดการ
- สาขาวิชาการตลาด
- สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยวและการบริการ
คณะสังคมศาสตร์และศิลปศาสตร์หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต (รป.บ.)
- สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.)- สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร
- สาขาวิชาภาษาจีนเพื่อการสื่อสาร
- สาขาวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร
คณะนิติศาสตร์หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต (น.บ.)
- สาขาวิชานิติศาสตร์
อัตราค่าธรรมเนียม (ประมาณการค่าเล่าเรียน) ระดับปริญญาตรีคณะวิศวกรรมศาสตร์ ศึกษาปกติ 8 ภาคการศึกษา มีค่าใช้จ่าย/ภาคการศึกษา ดังนี้
สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า วิศวกรรมอุตสาหการวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
วิศวกรรมเครื่องกล 33,000 บาท
สาขาวิชาเทคโนโลยีบัณฑิตและสาขาวิชาเทคโนโลยีก่อสร้าง 25,000 บาท
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ศึกษาปกติ 8 ภาคการศึกษา มีค่าใช้จ่าย/ภาคการศึกษา ดังนี้
สาขาวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ 30,000 บาท
สาขาวิชาการจัดการการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์และสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ 20,000 บาท
คณะบริหารธุรกิจ ศึกษาปกติ 8 ภาคการศึกษา มีค่าใช้จ่าย/ภาคการศึกษา ดังนี้
สาขาวิชาการจัดการ ,สาขาวิชาบัญชี, สาขาวิชาการตลาด
และสาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยวและการบริการ 20,000 บาท
คณะสังคมศาสตร์และศิลปะศาสตร์ ศึกษาปกติ 8 ภาคการศึกษา มีค่าใช้จ่าย/ภาคการศึกษา ดังนี้
สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์, สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร,
สาขาวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร และสาขาวิชาภาษาจีนเพื่อการสื่อสาร 17,000 บาท
คณะนิติศาสตร์ ศึกษาปกติ 8 ภาคการศึกษา มีค่าใช้จ่าย/ภาคการศึกษา ดังนี้
สาขาวิชานิติศาสตร์ 19,000 บาท
ค่าธรรมเนียม
- ค่าแรกเข้าศึกษา
- คณะวิศวกรรมศาสตร์ /คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
- นักศึกษา ชาย คนละ 4,000 บาท
- นักศึกษา หญิง คนละ 3,890 บาท
- คณะสังคมศาสตร์และศิลปศาสตร์/คณะบริหารธุรกิจ และคณะนิติศาสตร์
- นักศึกษา ชาย คนละ 3,550 บาท
- นักศึกษา หญิง คนละ 3,440 บาท
การรายงานตัวเพื่อเข้าสอบสัมภาษณ์ และตรวจร่างกายนักศึกษาที่ผ่านการคัดเลือกและมีสิทธิ์เข้ารับการสอบสัมภาษณ์และตรวจร่างกาย จะต้องปฏิบัติดังนี้ คือ
ขนาด 1 นิ้ว 5 ใบ นำมาเป็นหลักฐานประกอบการสอบ
แรกเข้าศึกษา ตามอัตราที่ได้กำหนดไว้ในข้อ 3 เพื่อเป็นค่าก่อสิทธิ์การเป็นนักศึกษา
โดยมหาวิทยาลัยฯ จะหักเป็นค่าอุปกรณ์การศึกษา ของนักศึกษาในแต่ละคณะและสาขาวิชา
ปฏิทินการสอบสัมภาษณ์ และตรวจร่างกายของผู้สอบผ่านข้อเขียน
เพื่อเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่ ปีการศึกษา 2555
สอบสัมภาษณ์ ส่งผลการตรวจร่างกายผู้สอบผ่านข้อเขียน ทุกคณะ ณ มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่
วันที่ 23-27 มกราคม 2555
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษาในมหาวิทยาลัย นอร์ท-เชียงใหม่ ณ มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่ และส่งผลการสอบให้โรงเรียน
วันที่ 23-27 มกราคม 2555
รายงานตัวขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษา ณ อาคารสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่
มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่
169 หมู่ 3 ต.หนองแก๋ว อ.หางดง จ.เชียงใหม่ 50230 Tel. 0-5381-9999 Fax. 0-5381-9998http://http://www.northcm.ac.th/
E-mail: mailto:it@northcm.ac.th